ท่านเจ้ากรับ
ท่านเจ้ากรับผู้สร้างวัดนายโรง ท่านเป็นสามัญชนแต่ที่ถูกเรียกขานเป็นถึงเจ้านั้น อาจด้วยบทบาทการแสดงละครนอกที่โดดเด่นในฐานะที่เป็นตัวพระ และเป็นบุคคลที่ความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ทางการละครของกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้ากรับ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ ตรงกับปีขาล ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ที่ชุมชนหลังวัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรนายถิน และนางกุ เจ้ากรับ เป็นเจ้าโรงละนอกซึ้งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ และเดิมมีชื่อเรียกว่า “กลับ” ชีวประวัติของเจ้ากลับ มีเล่าไว้ว่า เมื่อนางกุตั้งครรภ์ จวนจะครบกำหนดคลอด นางกุพร้อมด้วยลูกชายคนโตไปขายขนมทางเรือด้วยกัน ขณะพายเรือไปตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรือพายที่นั่งมาร่ม ลูกชายจมน้ำเสียชีวิตบริเวณหน้าวัดระฆังโฆสิตาราม นางกุเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก จนกระทั่งวันหนึ่งนางกุ ได้พายเรือไปขายขนมตามปกติ ได้พบกับหญิงชาวมอญคนหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงในด้านเวทย์มนต์คาถา จอดเรืออยู่ นางกุจึงได้เล่าความทุกข์จากการสูญเสียบุตรคนโตให้หญิงชาวมอญฟัง จนในที่สุดหญิงชาวมอญคนนั้น เกิดความสงสาร จึงรับอาสาทำพิธีเพื่อขอให้บุตรชายของนางกุที่เสียชีวิตไปกลับคืนชาติมาเกิดใหม่
เมื่อนางกุตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมาเป็นชาย จึงตั้งชื่อว่า “กลับ” หมายถึง บุคคลผู้ตกน้ำแล้วกลับชาติมาเกิดใหม่ เมื่อนายกลับโตขึ้น ได้ฝึกละครกับคณะละครของครูทองอยู่ ซึ่งเป็นคณะละครนอกอันลือชื่อในสมัยนั้น โดยได้เล่นเป็นตัวเอกในเรื่องอีเหนา ต่อมาได้ย้ายไปเล่นกับคณะครูบุญยัง ซึ่งเป็นละครนอกที่มีชื่อเช่นกัน เมื่อครูบุญยังเสียชีวิต ผู้แสดงละครเริ่มแยกวง ไปคนละทิศละทาง เจ้ากรับจึงพยายามรวบรวมตัวละครขึ้นมาใหม่ และตั้งเป็นคณะละครนอกของตัวเองโดยหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้าและผู้แสดงนำหรือ นายโรง เจ้ากรับ ได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนที่บริเวณย่านบางบำหรุ พร้อมกับได้สรรหาผู้แสดงหน้าใหม่มาฝึกเพิ่มเติมจนเป็นคณะละครนอกโรงใหญ่ขึ้น มาโดยพยายามรักษารูปแบบและมาตรฐานการแสดงละครแบบเดิมของครูทั้งสองเอาไว้ คณะละครนอกของเจ้ากรับ แสดงได้ดี มีชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับของคนในย่านบางบำหรุ และคนนอกพื้นที่อย่างเช่นท่านสุนทรภู่กวีเอกของไทย